โรคหูน้ำหนวกเรื้อรังชนิดร้ายแรง

ภาวะแทรกซ้อนเมื่อเป็นโรคหูน้ำหนวกเรื้อรังชนิดร้ายแรงและไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น  

1.)ฝีหลังหู (Subperiosteal Abscess) มักเกิดจากมีผิดหนังในช่องหูชั้นนอกเจริญเข้าในหูชั้นกลางซึ่งจะผลิตขี้ไครเข้าไปทำลายกระดูก 3 ชิ้นของหูชั้นกลาง กระดูกกกหูและทะลุออกมาเป็นฝีหลังหู 

2.) ประสาทสมองที่7 อัมพาต (Facial Nerve Paralysis) ทำให้ปากเบี้ยวเวลายิ้ม ยิงฟันไม่ได้ หลับตาไม่สนิท 

3.)อวัยวะควบคุมการทรงตัวอักเสบ เกิดจากการลุกลามไปยังหูชั้นในทำให้มีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ หูอื้อ มีเสียงในหู 

4.)เยื่อแก้วหูกระด้าง เกิดจากการอักเสบเรื้อรัง ทำให้กระดูกหู 3 ชิ้นจับกันแข็ง มีแคลเซียมเกาะ แก้วหูเคลื่อนไหวได้น้อย 

5.)สมองอักเสบ เกิดจากการลุกลามเข้าไปยังสมอง เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือฝีในสมอง 

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคหูน้ำหนวกหรือหูชั้นกลางอักเสบ 

1.)ระวังสุขภาพอย่าให้เป็นหวัด หลีกเลี่ยงที่แออัด หรือผู้ที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ 

2.)หลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูก ไอ หรือจามแรงๆ ในขณะเป็นหวัด 

3.)ระวังน้ำเข้าหู ไม่ให้มีการติดเชื้อบริเวณคอ จมูก เพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่มขึ้น หรือการติดเชื้อซ้ำ  

4.)ไม่แคะหรือปั่นหู  

5.)รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้ร่างกายอ่อนเพลียและเป็นหวัดได้ 

6.) ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงแต่ไม่ควรดำน้ำหรือว่ายน้ำ อาจส่งผลกระทบกับหูของเราได้

7.)รับประทานยาตรงตามขนาด เวลา ตามคำแนะนำของแพทย์และเจ้าหน้าที่สุขภาพ 

8.)หยอดหูให้ถูกวิธีตามขนาด เวลา ตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อช่วยลดการอักเสบและบวมของเยื่อบุภายในช่องหู 

9.)ไม่ควรซื้อยามาหยอดหูเอง หรือใช้สมุนไพรหยอดหู 

10.)ระวังอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อหู หรือหลีกเลี่ยนสถานที่ที่มีเสียงดังมาก ๆ 

11.)มาพบแพทย์ตามนัด เพื่อการรักษาที่ต่อเนื่อง 

 

 

ได้รับการสนับสนุนโดย  เครื่องช่วยฟัง

สาเหตุของโรคหูติดเชื้อ

 

เมื่อมีอาการเกี่ยวกับโรคหูติดเชื้อหรือเมื่อสงสัยว่ามีการติดเชื้อของหู แนะนำมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าสาเหตุเกิดจากหูชั้นนอก หรือชั้นกลาง หรือชั้นใน โดยทั่วไปแล้วเมื่อมีการติดเชื้อของหูชั้นนอกหรือชั้นกลาง แพทย์ก็จะจ่ายยาหยอดหูให้ เพราะยาหยอดจะเข้าไปถึงบริเวณที่มีการติดเชื้อโดยตรงและทำให้การติดเชื้อทั้งในหูชั้นนอกและชั้นกลางหายสนิทได้

แต่กรณีที่เป็นการติดเชื้อในหูชั้นกลาง หรือเป็นหูน้ำหนวก เมื่อหยอดยาจนแห้งสนิทดีแล้วนั้น แพทย์อาจจะแนะนำการผ่าตัดเพื่อปิดเยื่อแก้วหูที่ทะลุ ซึ่งจะผ่าตัดด้วยการใช้กล้องขยาย และหลังผ่าตัด จะมีผ้าและสำลีแพ็คไว้ในหูชั้นนอกและหูชั้นกลางไว้ฉะนั้นทำให้การได้ยินก็จะยังไม่ปกติ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วนั้นแพทย์ก็จะนัดมาเอาผ้าและสำลีออกให้หลังผ่าตัดประมาณ2 สัปดาห์

ระหว่างนี้ควรระวังไม่ให้น้ำเข้าหูโดยเด็ดขาด งดการแคะ หรือปั่นหู หรือการฟังเพลงที่ต้องใช้หูฟัง และห้ามนำตัวเองไปอยู่ในที่ที่เสียงดังมากๆ และห้ามดำน้ำโดยเด็ดขาด โดยแพทย์จะนัดตรวจอาการเป็นระยะๆ จนกว่าผู้ป่วยจะหายเป็นปกติ ทั้งนี้ การดูแลสุขภาพหู อย่างง่ายๆ คือ

1.ระวังไม่ให้น้ำเข้าหู ถ้าน้ำเข้าหูแล้ว ให้ใช้ไม้พันสำลีเข้าไปซับได้แต่ทางที่ดีแพทย์แนะนำให้ ไม่ควรให้น้ำเข้าหูจะดีกว่า และไม่ควรปั่นหู โดยเด็ดขาด เพราะอาดจะทำให้แผลที่ผ่าตัดฉีกขาดได้ และอาจจะเกิดการอักเสบ

2.หลีกเลี่ยงการใช้ของแข็งแคะ หรือปั่นหูรุนแรง เพื่อลดอาการบาดเจ็บในรูหู ซึ่งอาจจะนำไปสู่การติดเชื้อของหูชั้นนอกได้

3.ดูแลความสะอาดภายในรูหู ให้สะอาดอยู่เสมอ เช่นการเอาสำรีจุ่มน้ำเกลือแล้วทำการเช็ดล้างข้างในหู

4.เมื่อเป็นหวัดมีน้ำมูก ปวดหู ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดหูน้ำหนวกเพราะช่องทางเดินหายใจมีท่อที่เชื่อมกับหู

ถ้าหากมีน้ำมูก น้ำมูกอาจจะไปขังอยู่ที่หูจนทำให้เกิดเป็นโรคหูน้ำหนวงได้ ทางที่ดีคือ หากมีอาการเหมือนจะเป็นไข้ ต้องพบแพทย์ เพราะแพทย์จะสั่งยาให้ไปรับประทานเพื่อรักษาอาการให้หาย เพราะถ้าหากผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหูนั้นจะต้องควบคุมอาการป่วย ไม่ให้มีไข้ เพราะการเป็นไข้อาจจะทำให้การรักษายากมากขึ้น

 

สนับสนุนโดย  เครื่องช่วยฟัง

โรคหูหนวก

            การหูหนวก คือการที่เราไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย อาจจะมีอาการไม่ได้ยินแค่เพียงข้างเดียวหรืออาจะเป็นกับหูทั้งสองข้างก็ได้

ซึ่งอาการหูหนวกนี้อาจเป็นมาตั้งแต่เกิดหรือเพิ่มเริ่มมาเป็นหลังจากคลอดออกมากแล้ว หรือบางคนหูหนวกเมื่อมีอายุมากขึ้นเพราะความเสื่อมสภาพของของภายในหู  หรืออาจได้รับการประสบอุบัติเหตุที่มีผลกระทบไปยังหู ส่วนใหญ่คนที่เป็นโรคหูหนวกหลังคลอดหรือตอนที่อายุมากแล้ว จะไม่ค่อยรู้ตัวว่าเป็นโรคนี้

เพราะอาการจะไม่ออกทันที มันจะค่อยๆแสดงอาการออกมาโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น กลุ่มคนที่ต้องทำงานกับสถานที่ที่มีเสียงดังมาก กลุ่มคนเหล่านี้จะค่อยๆมีอาการคือ เมื่อมีใครมาพูดด้วยจะได้ยินเสียงเบา ต้องให้ตะโกนคุยดังขึ้นเรื่อยๆ เพราะหูจะชินที่ได้ยินเสียงดังๆ

          สำหรับอาการของคนที่เป็นโรคหูหนวกนั้นสามารถสังเกตได้เบื้องต้นคือ 

มักจะมีอาการหูอื้อและมักได้ยินเสียงเหมือนมีแมลงมาบินในหู บางครั้งมีลักษณะของหูแว่วได้ยินเสียงเพราะหาที่มาของเสียงไม่เจอ เวลาคุยกับคนอื่นมักจะไม่ค่อยได้ยินที่คนอื่นพูด ต้องคอยให้เขาพูดซ้ำๆเสียงดังๆจึงจะได้ยิน จะสังเกตได้ง่ายขึ้นเวลาที่ผู้ป่วยหูหนวกดูทีวีจะมีการเปิดเสียงดังมาก สำหรับคนที่เป็นโรคหูหนวกนั้น มักจะเกิดจากที่เสียงไม่สามารถทะลุทะลวงจากข้างนอกเข้าไปยังหูด้านในได้ ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจาก มีขี้หูเยอะมาขวางในรูหู หรือมีน้ำขังในหู หูมีการติดเชื้อจนแก้วหูทะลุ จากการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่นไข้หวัด โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเป็นโรคหินปูนเกาะที่กระดูกหู

ทำให้ขวางกันได้ยินของหูและยังมีอีกหลาสาเหตุมากมายที่จะทำให้เกิดหูหนวกขึ้นได้ และหากเราต้องการทราบว่าเราเป็นโรคหูหนวกหรือไม่ ต้องไปพบแพทย์ เพื่อตรวจอาการโดยแพทย์จะมีการซักประวัติ มีการทดสอบการได้ยินและมีการส่องกล้องเพื่อตรวจสอบสภาพข้างในหูว่ามีอาการอักเสบหรือปัญหาอะไรหรือไม่ หากมีก็อาจจะต้องใช้ เครื่องช่วยฟัง อีกด้วย

 เมื่อผลการทดสอบออกมาแล้วแพทย์จะมีการประมาณว่าผู้ป่วยเป็นโรคหูหนวกระดับไหน เช่น หูตึกนิดหน่อย  ตึงปานกลาง หรือหูตึงอย่างรุนแรง หรือว่าจะกลายเป็นโรคหูหนวกเลย ซึ่งวิธีการรักษาก็จะแตกต่างกันไป

           สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดโรคหูหนวกนั้น คือทำให้ร่างกายแข็งแรงเพราะโรคหูตึงสามารถมีสามารถมาจากที่เราเป็นโรคอย่างอื่นแล้วลามมาเป็นโรคทางหูได้ กับหลีกเลี่ยงการแคะหู การเอาอะไรแหย่เข้าไปในหูเพราะจะทำให้หูสกปก หรืออักเสบหรือแก้วหูฉีกขาดได้ และควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ก่อให้เกิดเสียงดังมากๆ